ไม้ตีกอล์ฟมีกี่แบบ ใช้ตีลูกขนาดไหน (การเลือกให้ถูกต้องกับระยะ)

วันนี้เรามาดูกันสำหรับอุปกรณ์พื้นฐานการตีกอล์ฟที่สำคัญและจำเป็นที่สุด คนเล่นกีฬานี้จะขาดไม่ได้เลยมีอยู่สองอย่างคือ ไม้กอล์ฟ (Golf Club)

สำหรับมือใหม่ที่กำลังสับสนและไม่เข้าใจว่า ควรเลือกใช้ไม้ประเภทไหนดีในสถานการณ์ต่างๆ วันนี้ขอแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้เริ่มเล่นโดยเฉพาะ (และนี่คือเหตุผลที่ต้องมีแคดดี้ เพราะจะเป็นเหมือนที่ปรึกษาผู้รู้ใจว่าควรเลือกใช้ไม้เบอร์ไหนในการตี) ทั้งนี้เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไม้แต่ละประเภทได้รับการออกแบบดีไซน์มาให้ใช้งานในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป โดยขนาดของหัวจะไม่เท่ากันเลยครับ สาเหตุเพราะ ในการเล่นลงสนามออกรอบ เราจะต้องเจอกับพื้นที่ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไป ไม้แต่ละประเภทก็ออกแบบมาเพื่อให้ใช้สำหรับการนั้นเป็นพิเศษ เช่น บนพื้นหญ้า พื้นทราย หรือบนเนินแฟร์เวย์ หรือบางครั้งเราต้องการตีในลักษณะที่แตกต่างไป เช่นตีเต็มแรงเพื่อเน้นลูกโด่ง หรือต้องการตีงัดขึ้นจากหลุมทรายไปบนเนิน หรือไม่ต้องการตีแรงมากเกินไปเพราะจะออกไปลงหลุมบ่อหรือลงน้ำ หรือเข้าป่า

ความยากง่ายของการตีกอล์ฟจึงอยู่ตรงนี้เอง เพราะพวกวงสวิงหรือท่วงท่าการตีต่างๆ สุดท้ายแล้วเราก็ใช้คล้ายๆกันหมด แต่แค่เพิ่มระยะทางในการหวดไม้ ความแรงในการตี หรือการเล็งทิศทางของลูกที่จะหวดออกไป ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงทิศทางลมที่พัดมาด้วย

สำหรับประเภทหัวไม้ที่ใช้งานในการแข่งขันแบบมาตรฐาน แต่ละถุงบรรจุได้ไม่เกิน 14 ไม้ ดังนี้ครับ

หัวไม้ (Driver) มีหัวไม้ 1, 3, 4 และ 5

หัวเหล็ก (Iron) ตั้งแต่เหล็ก 9,8,7,6,5,4,3

หัวเหล็กประเภท Pitching Wedge และ Sand Wedge

Putter สำหรับตี Putt เพื่อให้ลงหลุม

ปัจจุบัน พัฒนาการของไม้ก็มีการปรับปรุงเข้ามาเรื่อยๆ ใช้นวัตกรรมเสริมเข้าไป แต่ตามกฎแล้วก็ต้องยึดไม้ทั้ง 14 นี้ไว้อย่างเด็ดขาด ห้ามมีนอกเหนือจากนี้

สำหรับหัวไม้ ใช้สำหรับการหวดลูกเพื่อให้ได้ระยะทางไกลซึ่งเหมาะสำหรับตอนเปิดเกม หรือกำลังต้องการตีเพื่อให้ได้ระยะทางไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนลำดับความแรงก็ตามเบอร์จากน้อยไปมากเลยครับ หัวไม้ 1 คือสูงสุด ส่วนไม้เหล็กจะตีระยะทางน้อยลง แต่การควบคุมทิศทางจะทำได้ดีกว่าหัวไม้ กรณีตกหลุมทราย ก็จะมี Sand Wedge ซึ่งไว้ตีงัดลูกขึ้นมาโดยเฉพาะ ระยะทางจะไปได้ไม่มาก เพราะเอาแค่ตีให้ขึ้นหลุมก็พอ

สำหรับการ Drive ออกจากแท่นวาง เป็นการตีระดับพื้นฐาน เริ่มจากสิ่งนี้ก่อนที่จะออกรอบนะครับ แล้วเราจะค่อยๆพบและเข้าใจการใช้งานของไม้แต่ละประเภทได้ด้วยตนเอง